4 ข้อควรทราบก่อนเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง

การเลือกน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์อาจจะดูเหมือนง่ายนะครับ แต่ทำให้หลายคนทำเครื่องยนต์พังกันไปมากแล้ว เพราะเลือกน้ำมันเครื่องที่ไม่ถูกกับเครื่องยนต์ อีกทั้ง หลายคนก็เกิดอาการสับสน เพราะทุกวันนี้มีน้ำมันเครื่องหลากหลายยี่ห้อ แถมยังมีหลายประเภทอีกด้วย เลยไม่รู้ว่าจะเลือกใช้แบบไหนดี เราจึงจะพาไปรู้จักกับน้ำมันเครื่องแต่ละประเภทกันครับ ว่าใช้แบบไหน เหมาะกับเครื่องยนต์อะไรบ้างครับ


1. ประเภทของน้ำมันเครื่อง
– น้ำมันเครื่องธรรมดา หรือ Synthetic ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.
– น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ หรือ Semi Synthetic ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับน้ำมันชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.

2. ราคา
นอกจากนี้ น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ ยังเป็นน้ำมันเครื่องที่ถูกผลิตขึ้นตามกลไกของตลาด เพื่อให้เป็นทางเลือกในการซื้อของผู้บริโภค ในราคาที่ถูกกว่าน้ำมันสังเคราะห์ ทั้งนี้ มีผู้ผลิตน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์น้อยมาก ที่กล้าออกมาบอกว่าได้ผสมน้ำมันสังเคราะห์ไว้ในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ก็ใช้คำว่า Semi Synthetic ได้แล้ว
– น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ Fully Synthetic ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.
อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ต้องมีความระมัดระวังให้มากะครับ เนื่องจากในปัจจุบันมีการใช้คำว่า Synthetic บนฉลากน้ำมันเครื่องอย่างแพร่หลาย เช่น Synthetic Technology, Synthetic Performance เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่านี้ไม่ชัดเจนว่าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % หรือกึ่งสังเคราะห์ ดังนั้น จึงควรอ่านฉลากหรือข้อความภาษาไทยประกอบด้วยครับ เพราะบางชนิดก็เป็นน้ำมันเครื่องธรรมดาเท่านั้น

3 ค่าความหนืดคืออะไร?
ค่าความหนืดคือความข้น–ใส ของน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งกำหนดโดยองค์กรวิศวกรรมยานยนต์ หรือ SAE หรือ API จากสหรัฐอเมริกา โดยค่าความหนืดจะระบุเป็นตัวเลขติดกับค่าการทนความเย็น ตามหลังตัวอักษร SAE เช่น SAE 10W-30 หรือ SAE 5W-40 เป็นต้น
ทั้งนี้ ค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่องมีรายละเอียดดังนี้…
– W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
– 5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
– 10W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
– 15W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
– 20W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
ส่วนค่าความหนืด จะบอกถึงความหนืดของน้ำมันเครื่องที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยถ้าตัวเลขมาก ก็จะมีความหนืดมาก ถ้าตัวเลขน้อย ก็จะมีความหนืดน้อย ซึ่งความหนืดของน้ำมันเครื่องจะมีผลต่อการหล่อลื่น และช่วยลดการสึกหรอครับ

4. น้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ
นอกจากน้ำมันเครื่องทั่วไปแล้ว ปัจจุบันยังมีน้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ เพื่อปรับให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน เช่น NGV, LPG & Gasoline เหมาะสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG Heavy Duty เหมาะสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก
เมื่อได้รู้จักกับประเภทของน้ำมันเครื่องไปแล้ว คราวนี้เราก็ไม่หลงไปกับน้ำมันเครื่องที่ไม่ได้คุณภาพกันแล้วนะครับ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีผู้นิยมใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จำนวนมาก แม้จะมีราคาแพง เพราะเป็นห่วงเครื่องยนต์ว่าจะมีการสึกหรอ แต่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ ก็มีผู้หันมาใช้น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์แทน เพราะราคาถูกกว่า
อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อควรอ่านฉลากสินค้าอย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อน้ำมันเครื่องครับ หากไม่แน่ใจก็ควรถามคนขายหรือพนักงานในศูนย์บริการรถยนต์ดีกว่านะครับ