ค่าความหนืด วัดอย่างไร?

ค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องจะเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิ ดังนั้น น้ำมันเครื่องเกรดรวมจะสามารถปกป้องได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างกว่าเกรดเดี่ยว
ค่า SAE หรือ Society of Automotive Engineers จะแสดงถึงค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องทั้งที่อุณหภูมิสูงและต่ำ ซึ่งก็คือเหตุผลที่ว่า ทำไมค่าความหนืดบนขวดน้ำมันเครื่องจึงประกอบไปด้วยตัวเลข 2 ตัว

อุณหภูมิต่ำ

ตัวเลขตัวแรกที่นำหน้า W จะอธิบายถึงค่าความหนืดของน้ำมันที่อุณหภูมิต่ำ (W ย่อมาจาก Winter) นั่นแปลว่ายิ่งตัวเลขยิ่งต่ำน้ำมันก็จะยิ่งมีค่าความหนืดต่ำตามไปด้วย
ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หากน้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดที่น้อย ก็จะสามารถไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ได้ง่ายและเร็วขึ้น เพื่อการปกป้องเครื่องยนต์ในขณะสตาร์ท แต่หากน้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูง ณ ที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้การไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ไม่สะดวกและดึงกำลังเครื่องยนต์ ส่งผลให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

อุณหภูมิสูง

ตัวเลขตัวที่สองอธิบายถึงความหนืดของน้ำมันเครื่องในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิปกติ
ยิ่งตัวเลขตัวที่สองสูง น้ำมันก็จะยิ่งมีค่าความหนืดมาก เพราะถ้าน้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดที่น้อยเกินไปเมื่อเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูง มันอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการปกป้องเครื่องยนต์ลดลง แต่ถ้ามีค่าความหนืดที่มากเกินไป ก็ให้ประสิทธิภาพที่ไม่ดีเช่นเดียวกัน

คุณสามารถอ้างอิงค่าความหนืดที่ถูกต้องได้จากสมุดคู่มือรถยนต์ของคุณ

มาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น

การใช้น้ำมันเครื่องที่ถูกต้องช่วยให้เครื่องยนต์วิ่งได้เรียบและลื่นมากขึ้น แต่ถ้าใช้ผิดอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องยนต์, เกิดการเผาไหม้น้ำมันที่มากเกินไป, เพิ่มปริมาณมลพิษ, เพิ่มการกัดกร่อน และอาจมีผลต่อการประกันรถยนต์ได้

ค่ากำหนดหรือคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง ขึ้นอยู่กับสิ่งปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แต่ละชนิด ดังนั้นจึงมีเกณฑ์มากมายที่ต้องคำนึงถึง เช่น ความสะอาด, การทนความร้อน, การป้องกันการสึกหรอ, ความแข็งแรง

มาตรฐานต่างๆของน้ำมันเครื่อง จะถูกพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามเทคโนโลยีเครื่องยนต์ที่เปลียนแปลงไป โดยจะมีมาตรฐานสากลอยู่ 4 สถาบัน คือ

มาตรฐาน API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE)

มาตรฐาน API มักจะขึ้นต้นตัวอักษรแรกด้วยตัว S หรือ C

S คือ Spark (สำหรับเครื่องยนต์เบนซินจุดระเบิดด้วยประกายไฟ)
C คือ Compression (สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจุดระเบิดด้วยแรงอัด)

ตัวอักษรตัวที่สองจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง ซึ่งจะพัฒนาคุณสมบัติน้ำมันเครื่องไปตามความต้องการของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ โดยจะเริ่มต้นด้วยตัว “A” จนปัจจุบันพัฒนามาถึง “N” ซึ่งเหมาะกับเครื่องยนต์เทคโนโลยีปัจจุบัน เช่น SN ย่อมมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับเครื่องยนต์เทคโนโลยีใหม่ในปัจจุบัน มากกว่า SA เป็นต้น
น้ำมันเครื่องบางชนิดตรงตามเกณฑ์ค่ามาตรฐาน ใช้ได้ทั้งในเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ค่ามาตรฐานก็จะแสดงทั้งคู่ เช่น SL/CF เป็นต้น

มาตรฐาน ILSAC (INTERNATIONAL LUBRICANTS STANDARDIZATION AND APPROVAL COMMITTEE) ซึ่งเป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องสากล โดยหลักๆจะเป็นมุมมองของฝั่งอเมริกา

ILSAC เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตรถยนต์จากฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น และยังเป็นตัวแทนของ OEMs รายใหญ่ทั้งในอเมริกาและยุโรปอีกด้วย
ค่ามาตรฐานของ ILSAC และ API มักจะเป็นไปในทางเดียวกัน แต่จะมีการเน้นเพิ่มเติมในเรื่องของการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการประหยัดน้ำมันและระบบควบคุมไอเสีย
ค่ามาตรฐานล่าสุด คือ ILSAC GF-5 หมายความว่า ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง จะยิ่งหมายถึงน้ำมันเครื่องชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถรองรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้

มาตรฐาน ACEA (THE ASSOCIATION DES CONSTRUCTEURS EUROPÉENS D’AUTOMOBILES) สำหรับรถโซนยุโรป

ACEA เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องของรถยนต์โซนยุโรป โดยน้ำมันเครื่องทั้งหมดจะต้องผ่านขั้นตอนของการทดสอบตามกฎหมายซึ่งจะถูกปรับปรุงให้เหมาะสมกับความต้องการของเครื่องยนต์และมาตรฐานมลพิษเสมอ
มาตรฐาน ACEA ครอบคลุมทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
A = เครื่องยนต์เบนซิน
B = เครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (รถเก๋งและปิคอัพ)
C = เครื่องยนต์ที่ต้องใช้น้ำมันเครื่องในการทำงาน
E = เครื่องยนต์ดีเซลใช้งานหนัก

มาตรฐาน OEM (ORIGINAL EQUIPMENT MANUFACTURER) ได้รับการพัฒนาจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

แต่ละ OEMs ส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของเครื่องยนต์ที่มีความเฉพาะเจาะจง
เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องมีมาตรฐานตรงตามที่ OEM กำหนด ทาง OEM จะมีการทดสอบเพิ่มเติม ซึ่งเป็นค่าเฉพาะของทาง OEM เอง และจะมีการประกาศมาตรฐานต่างๆที่ได้รับการอนุติแล้วเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบและทราบว่า ผลิตภัณฑ์ไหนเหมาะสมกับรถของพวกเขาที่สุด
เนื่องจากมาตรฐานต่างๆเหล่านี้ จะมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรถที่ยังอยู่ภายใต้การรับประกันของทางศูนย์ผู้ผลิต